วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

นิทานธรรมดาโลก ( ๗)


๑๙. รถยนต์เพื่อนรัก

     โรงงานประกอบรถยนต์แห่งหนึ่ง  ประกอบตัวถังรถยนต์ออกมาจำหน่ายวันหนึ่งหลายสิบคัน  วันนั้นมีรถยนต์ประกอบเป็นรถยนต์สำเร็จรูปแล้วแล่นออกจากโรงงานไปเข้าโรงจำหน่าย เหมือนคนเกิดใหม่  เป็นแบบโอปปติกชาติ คือ เกิดแล้วก็เติบโตทันทีทันใด  เป็นร่างกายอันสมบูรณ์จำนวนหลายสิบคัน  แต่มีอยู่ ๒ คัน ที่คนขับแล่นตามกันมา  คันหนึ่งสีฟ้า คันหนึ่งสีน้ำเงิน  รถ ๒ คันนี้เกิดมาพร้อมกัน  ออกมาจากโรงงานผลิตพร้อมกัน มาจอดอยู่ในโรงงานจำหน่ายด้วยกันและจอดอยู่ชิดๆกัน  จึงรักกันมากทั้งคืนทั้งวันก็สนทนากันตามประสาคนรักกัน  สัญญาว่าจะรักกันจนวันตายไปไหนก็จะไปอยู่ด้วยกัน
     แต่แล้วอยู่มาวันหนึ่งก็มีเหตุเจ้ารถสีฟ้า รถสีน้ำเงินจะต้องพรากจากกันด้วยมีคนมาขอซื้อ  รถยนต์สีฟ้าและรถยนต์สีน้ำเงินพร้อมๆกัน  แล้วก็จัดแจงขับแยกทางกลับไปคนละทิศละทาง  รถทั้งสองรักใคร่กันมาก  จึงเศร้าโศกเสียใจอาลัยรักกันนักหนา  ต่างคันต่างร้องไห้คร่ำครวญไปตลอดทาง
     รถสีฟ้าร้องสั่งว่า   "เราจากกันแต่กายนะ  ส่วนหัวใจเราส่งถึงกันเสมอ  ถึงจะอยู่ไกลกันสุดขอบฟ้า เราก็จะไม่ลืมกันเลย"
     รถสีน้ำเงินร้องว่า  "ถ้ามีโชคเราคงจะได้พบกันอีก  ตายแล้ววิญญาณเราก็จะไปอยู่ร่วมกันอีก"
     แล้วต่างก็จากกันไปอยู่คนละเมือง  คันหนึ่งไปอยู่เมืองเหนือ  คันหนึ่งไปอยู่เมืองใต้
     อยู่ต่อมาสัก ๕ ปี  รถทั้งสองคันนี้ก็เผอิญมาพบกัน  ณ ท้องถนนแห่งหนึ่ง  เห็นกันแล้วต่างคันต่างก็ตกตะลึง  ไม่คิดว่าจะได้เห็นกันโดยมิได้คาดฝัน จึงวิ่งเข้าหากันผวาเข้ามาจูบกัน  อยู่ตรงถนนนั้นด้วยความรัก  ทำให้คนโดยสารในรถนั้นต่างฝ่ายต่างบาดเจ็บล้มตายไป   แล้วรถสองคันนั้นก็ถูกแยกไปคนละทาง  จอดอยู่ห่างกัน แต่ไม่มีปัญญาจะสนทนากันเสียแล้ว เพราะร่างกายแตกหักยับเยินด้วยกันทั้งคู่  
     นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า  ความรักทำให้เกิดความอาลัย เมื่อต้องพลัดพรากจากกันและความรักทำให้บาดเจ็บล้มตายได้  ถ้าไมยับยั้งสติอารมณ์ไว้ให้ดี  


๐๐๐๐๐๐๐๐

๒๐.เสียงคุยของคนขอทาน


     ณ ศาลาหน้าวัดแห่งหนึ่ง  เป็นที่นอนพักของคนขอทานกลุ่มหนึ่ง  ซึ่งยึดเอาเป็นที่พำนักพักนอน  ตกเย็นก็มารวมกัน นั่งมั่งนอนมั่ง  คุยกันตามประสาคนขอทาน
     คนหนึ่งคุยว่า "เวลานี้ข้ารู้สึกดินฟ้ามหาสุมทรแล้ว  อันมนุษย์เรานี่ อ้ายตีนที่สวมถุงน่องรองเท้าเดิน  กั็บๆ  เหมือนม้าเดินมานี่ละก็อย่าไปขอมันเลย  ไม่ให้หรอก  แต่คนที่เดินตีนเปล่าตีนใหญ่ๆ หนาๆ ใส่รองเท้ายางเดินมา ยื่นมือออกไปได้ทุกทีแหละ  บาทหนึ่ง สองสลึง สลึงหนึ่ง ไม่ผิดหวังหรอก  ข้าดูตีนคนออกถึงหัวใจคนเลย"
     คนที่สองพูดว่า  "ฉันก็รู้จิตใจคนว่า ผู้หญิงนี่ มีใจบุญกว่าผู้ชาย ถ้าเห็นนุ่งผ้าถุงหรือกระโปรงเดินมา  ยื่นมือออกไปไม่ค่อยผิดหวัง  ถ้าเห็นนุ่งกางเกงเดินมาไม่ค่อยจะทำบุญทำทาน พวกผู้ชายทำทานน้อยกว่าผู้หญิง"
     คนที่สามพูดว่า  "แต่ข้าดูอายุคน  อายุเด็กๆ รุ่นๆ หนุ่มๆ สาวๆ ไม่ค่อยทำทาน แต่คนอายุมากๆ ชอบทำบุญทำทาน ถ้าเห็นคนรุ่นหนุ่มสาวเดินมา ฉันไม่ยื่นมือหรอก  คนมีอายุนี่  ฉันยื่นมือออกไปไม่ค่อยผิดหวัง"
     คนที่สี่พูดว่า "ฉันสังเกตุตาเขาแฮะ คนที่เดินมา  ถ้าตามองต่ำๆ มองพื้น มองผู้มองคนละก็ ยื่นมือออกไปไม่ผิดหวัง  แต่อ้ายพวกที่เดินดูแต่สินค้าไม่มองคน แหงนมองโน่นนี่มองร้านมองรวง พวกนี้ไม่ทำทาน"
     คนที่ห้าพูดว่า "ข้าดูผิวพรรณคนออก คนดำคล้ำหน่อย หน้าตาเป็นคนไทย  คนลาวเขามักจะทำทาน  แต่อ้ายจำพวกหน้าขาวๆ ไม่ว่าหนุ่มหรือแก่ ไม่ค่อยทำทาน พวกฝรั่งตัวแดงๆ อย่าไปขอมันเลยเชียว"
     คนที่หกพูดว่า "ฉันว่าคนจน  ทำทานมากกว่าคนมีนะ คนจนก็เห็นใจคนจน  สงสารคนจนด้วยกัน  เขาคงภาวนาในใจว่า "เกิดชาติใดภพใดอย่าให้ต้องยากจนต้องขอทานเขากินเหมือนพวกเขา"
     นิทานเรื่องนี้สอนว่า  คนรู้จักสังเกตุ ก็ค่อยได้รับความรู้ความคิด ต่างๆกัน  เพราะคนย่อมมองโลกมองชีวิตในแง่มุมที่แตกต่างจากเรา  เขาจึงเห็นอะไรที่ผิดแผกแตกต่างจากเรา   แต่เขาก็มองไม่ผิดไปจนห่างไกลความจริงเลย 
๐๐๐๐๐๐๐๐

๒๒. นางแต้มใจแตก

     นางแต้มเป็นหมาบ้านนายจ้อย  ซึ่งเป็นกระท่อมหลังน้อยๆ  นายจ้อยไปขอเขามาเลี้ยงไว้ตั้งแต่ตัวเล็กๆ  พึ่งอดนม  เพื่อเอามาให้เด็กหญิงจิ๋ม ลูกสาวอุ้มเล่น  เด็กหญิงจิ๋มรักนางแต้มมาก อุ้มไปอุ้มมาอยู่จนโต  ครั้นนางแต้มโตเป็นสาวอายุได้ ๑ ขวบ  ก็ริออกมานอกบ้านมาเสวนากับหมาบ้านลุงใหญ่  ซึ่งมีฐานะดีมีบ้านเป็นตึก  มีกำแพงล้อม  เมื่อนางแต้มมาบ้านลุงใหญ่  แล้วก็สนใจที่มีเพื่อนหมาและมีอาหารดีๆ กินด้วย  จึงไม่ยอมกลับบ้านนายจ้อยหลังน้อย ถึงนายจ้อยจะมาอุ้มไปก็หนีกลับมาบ้านลุงใหญ่อีก  จนเด็กหญิงจิ๋มเกิดความน้อยใจ  วันหนึ่งก็พูดกับนางแต้มว่า  "แต้มเอ๋ย  บ้านเรามันจนนะ  บ้านก็เล็กอาหารก็น้อย  เอ็งไปอยู่บ้านลุงใหญ่ บ้านใหญ่ อาหารเยอะ เอ็งก็ลืมบ้านเก่า  เอาเถอะ  เอ็งสบายแล้ว  ไม่ต้องกลับมาอีกหรอก  ข้าตัดใจได้แล้ว เอ็งไม่รักข้า ข้าก็ไม่รักเอ็ง"
     นายจ้อยได้ยินลูกสาวพูดกับหมาดังนี้แล้ว  ก็น้ำตาคลอตา คิดไปต่างๆนานา  ว่าอย่าว่าแต่คนเลย  หมามันก็แสวงหาความสุขใส่ตัวมันหเหมือนกัน โบราณท่านพูดว่า  "น้ำไหนวัง น้ำไหนเย็น ตะเข้ตะโขงก็ไปอยู่  น้ำไหนร้อนปลาช่อนปลาชะโดก็หนีไม่ยอมอยู่"
      นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า  มนุษย์และสัตว์  ล้วนแต่แสวงหาความสุขด้วยอาหาร  ทีอยู่และเพื่อนฝูงเหมือนกันทั้งสิ้น อย่าไปว่าใครเลย 
๐๐๐๐๐๐๐๐

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

นิทานธรรมดาโลก (๖)


๑๖. จิ้งจกทัก
    ลูกจิ้งจกตัวหนึ่ง คอยติดตามแม่ของมันเที่ยวจับแมลงกินอยู่ตามฝาบ้านครอบครัวหนึ่ง  มันเคยสังเกตเห็นแม่ของมันร้องทักร้องทักเจ้าของบ้านอยู่เป็นครั้งคราวเสมอ
  วันหนึ่ง มันได้ยินเสียงแม่มันร้องทัก จุ๊ ๆ ๆ อีก มันจึงร้องถามแม่ของมันว่า  ร้องทำไม ? 
    แม่มันตอบว่า "ร้องทักเจ้าของบ้าน"
    มันจึงถามว่า "ทักเขาทำไม ?"
    แม่มันตอบว่า "ทักเพื่อให้สติยั้งคิดไม่ทำชั่ว"
    ลูกจิ้งจกก็ถามต่อไปว่า  "มันเรื่องอะไรของเราด้วยเล่า   เขาจะทำชั่วก็ชั่งเขาเป็นไร"
     แม่จิ้งจกตอบว่า   "เราเป็นสัตว์เล็กมาอาศัยบ้านของท่านอยู่หากิน  มีความสุขตลอดมา   เขาจึงเป็นผู้มีบุญคุณแก่เราอยู่  เราจึงต้องตอบแทนบุญคุณเขา  เมื่อรู้ว่าเขาจะทำผิดคิดชั่ว  เราจึงต้องร้องทักเตือนสติเขาไว้   มิฉนั้นก็อาจเกิดอันตรายแก่เขา  เมื่อเขาได้รับอันตราย บ้านเรือนของเขาก็ต้ังอยู่ไม่ได้   เราก็ย่อมพลอยได้รับอันตรายด้วย  เราจึงต้องช่วยตักเตือนท่าน  เป็นการช่วยเหลือท่านด้วยความกตัญญุแบะผลแห่งกตัญญูนั้น  ก็ช่วยปกป้องคุ้มครองเราให้มีความสุข"
     ลูกจิ้งจกถามว่า "แม่รู้ได้อย่างไรว่า  เขาจะทำชั่วคิดชั่ว?"
     แม่จิ้งจกตอบว่า "รู้ได้จากการสังเกตดูสีหน้าและแสงสีที่ออกจากดวงหน้าของเขา  ถ้าเขาคิดชั่วร้าย  ก็จะมีแสงสีม่วง ถ้าเขาจะประสบโชคร้าย  ก็จะมีแสงสีดำ"
     ลูกจิ้งจกถามว่า "เมื่อเห็นแล้วจะทำอย่างไรให้เขารู้ตัวได้เล่า"
     แม่จิ้งจกตอบว่า "หาจังหวะที่เหมาะๆ เมื่อใจเขามีสมาธิดีแล้ว  ก็ร้องทักเขาให้ได้สติอย่างหนึ่ง  ถ้าเป็นเรื่องสำคัญก็ต้องเสียสละโจนตัวจากเพดานลงไปที่พื้นให้เขาเห็น   ถ้าเป็นเรื่องสำคัญมากเกี่ยวกับชีวิตของเขาก็ต้องเสียสละชีวิตเรา   ปล่อยตีนมือจากเพดานตกลงไปตายให้เขาเห็น  เช่น ถ้าว่าเขาจะเดินทางไปประสบอันตรายถึงชีวิต  เมื่อเขาจะออกจากบ้าน  เราจะต้องโจนลงไปตายขวางหน้าเขาไว้เสียก่อน"
     ลูกจิ้งจกถามแม่ว่า "เหตุไรเล่าจึงต้องยอมสละชีวิตเราเพื่อช่วยชีวิตเขาเช่นนั้น?"
     แม่จิ้งจกตอบว่า "เพราะสัตว์มนุษย์เป็นสัตว์มีบุญคุณต่อเราอย่างหนึ่ง เพราะสัตว์มนุษย์เป็นสัตว์อายุยืนยาวกว่าเราอย่างหนึ่ง  เราจึงต้องยอมเสียสละชีวิตอันเล็กน้อยของเราเพื่อช่วยเหลือชีวิตอันใหญ่ของเขาไว้"
     ลูกจิ้งจกถามว่า  "ถ้าเราเฉยเสียไม่ทัก  ไม่ยอมสละชีวิตเตือนเขาไว้  จะเกิดอะไรขึ้นเล่า"
     แม่จิ้งจกตอบว่า  "เมื่อเจ้าของบ้านที่เราอยู่อาศัยหากินเกิดอันตรายถึงชีวิต  ชีวิตของเราก็จะพลอยเกิดอันตรายด้วย  ชีวิตทุกชีวิตในโลกนี้ย่อมเกิดมาผูกพันกัน  เป็นคุณประโยชน์ต่อกันทั้งทางตรงทางอ้อมทั้งสิ้น  เมื่อชีวิตอันใหญ่เกิดอันตราย ก็จะกระทบกระเทือนถึงชีวิตอันน้อยชีวิตอื่นรอบข้างด้วยเสมอ เราเกิดมาจึงต้องช่วยเหลือกัน แม้ว่าการช่วยเหลือกันและกันนั้น  บางคร้ังบางคราวก็อาจจะต้องเสียสละความสุข  สละทรัพย์ หรือชีวิตของเราเอง"  
     นิทานเรื่องสอนให้รู้ว่า  ธรรมชาติสร้างชีวิตทุกชีวิตาให้มีความเกี่ยวเนื่องผูกพันกัน  จึงต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  และเสียสละเพื่อกันและกันอยู่เสมอ 
๐๐๐๐๐๐๐๐

     ๑๗. คนไหว้หมา

     เด็กชายประดิษฐ์ บ้านแหลม  เป็นเด็กยากจน พ่อแม่หาเช้ากินค่ำ เรียนหนังสือจบชั้น ป.๔ แล้วก็ออกจากโรงเรียน  แต่เด็กชายประดิษฐ์เป็นเด็กอ่อนแอ ช่วยเหลือแม่ทำงานรับจ้างเป็นกรรมกรไม่ไหว  จึงได้เข้าบวชเณร   แล้วจึงเอาดีทางพระ  เรียนจบนักธรรมชั้นเอก แล้วอาจารย์ก็ส่งเข้าเรียนต่อเปรียญทีวัดในกรุงเทพฯ จนกระทั่งอายุครบบวชก็ได้บวชเป็นพระ   วันหนึ่งได้รับนิมนต์ไปฉันอาหารในงานทำบุญบ้านท่านจอมพลคนหนึ่ง  ซึ่งเลี้ยงสุนัขพันธ์ุฝรั่งไว้ฝูงใหญ่  ถึงกับต้องจ้างคนเลี้ยงหมา  พระประดิษฐ์เดินผ่านกรงหมาไปใกล้ๆ  จึงได้มองเห็นอาหารหมาวันนั้น เป็นเนื้อวัวสดๆกระดูกหมู  มองดูก็กะประมาณว่าค่าอาหารหมาคราวนั้นตกหลายร้อยบาท  ยิ่งกว่านั้นยังมีนมสดเลี้ยงหมาด้วย   พระประดิษฐ์มองเห็นแล้วก็เกิดความสลดใจในสภาพของตนเอง   พ่อแม่ และพี่น้อง เกิดมาเป็นคนแต่จนยิ่งกว่าหมา  อาหารหมามื้อนี้มากกว่าอาหารที่บ้านเราตั้งเดือน  อย่าว่าแต่เนื้อหมู เนื้อวัว นมสดเลย  ข้าวจะหุงกินบางมื้อก็ไม่มี  ต้องต้มกิน บางทีก็ต้องหุงผสมเผือกมันกินพออิ่มกันตายในมื้อหนึ่งๆ  "เออ หมาเหล่านี้วาสนาดีกว่าเราเสียอีก ทำบุญอะไรไว้หนอ เราอยากจะไหว้หมาเสียแล้ว"  พระภิกษุประดิษฐ์ครุ่นคิดในใจ จนกระทั่งกลับไปวัดวันนั้น พระประดิษฐ์ก็ยังครุ่นคิดไม่หาย  พระประดิษฐ์มีฝีมือวาดภาพเป็นอยู่บ้าง พอวาดรูปคนรูปหมาและรูปดอกไม้กับต้นไม้  หรือรูปวัดรูปบ้านให้พอมองออกว่าอะไรเป็นอะไร  ไม่ถึงแก่มีฝีมือชั้นจิตรกรหรือวิจิตรศิลป์อะไร อารมณ์ที่คิดไปก็เลยเอาพู่กันวาดภาพหมานั่งอยู่บนเก้าอี้ มีรูปพระนั่งหมอบไหว้สุนัขแล้วก็นั่งดูอยู่พลางคิด อะไรไปต่างๆ 
     พอดีขณะนั้นท่านเจ้าคุณเดินมาพบเข้า  เห็นภาพพระภิกษุกำลังนั่งไหว้หมาอยู่ 
     "นี่คุณประดิษฐ์  คุณเคยเห็นโคตรพ่อโคตรแม่ของคุณไหว้หมาหรือ?"
     "เปล่าครับ" 
     "แล้วนี่คุณเขียนภาพพระไหว้หมาทำไม ?"
     "บางทีหมามันมีวาสนามากกว่าคน"
     "แล้วนีคุณเขียนภาพพระไหว้หมาทำไม"
     "อ้อ... ยังนั้นนี่เล่า  ผมดูคุณแปลกๆ ไปหมู่นี้  ผมไม่คิดว่าพระในวัดผมจะมีความคิดต่ำช้าแบบเดรัจฉานอย่างนี้"  
     "ผมไม่ได้หมายความยังงั้น"
     "เอาละ  การกระทำมันส่อเจตนา  ผมขอให้คุณออกไปจากวัดผมได้ตั้งแต่วันพรุ่งนี้  วัดของผมไม่ต้อนรับพระนอกรึตอย่างคุณ" ว่าแล้วท่านก็หันหลังกลับ
     พระประดิษฐ์ก็ลาสึก  แต่เพราะมีความรู้สอบได้วิชาชุด พกศ. จึงได้สมัครเข้าเป็นครูในจังหวัด
     นายประดิษฐ์ บ้านแหลม เป็นครูที่ชอบขีดเขียนตามนิสัยเดิม  อยู่มาวันหนึ่ง  เกิดความคิดว่า
     "ตัวเรานี้ก็เป็นคนนะ แต่เจ้านายบางคนเหมือนหมา   ้เราเป็นคนต้องอยู่ใต้ปกครองของหมา  เป็นคนต้องไหว้หมา"  จึงได้เขียนรูปคนไหว้หมาลงในหนังสือที่ระลึกการจัดงานแห่งหนึ่ง  เมื่อรู้ถึงเจ้านายก็สอบถามว่าใครเขียนรูปภาพนี้ คนก็บอกว่านายประดิษฐ์เขียน  เจ้านายก็พูดว่า  
     " เอ  คนที่มีความคิดจิตต่ำช้าอย่างนี้ น่าจะสูญพันธ์ุไปหมดแล้วนะ ยังเหลืออยู่อีกหรือนี่"
     นับแต่วันนั้นมา นายประดิษฐ์ ก็ถูกมองว่าเป็นคนแปลกๆ แผลงๆ  ในวงการครู  ทำท่าจะอับเฉาไปไม่เจริญในหน้าทีราชการกับเขา นายประดิษฐ์ร้อนใจจึงไปหาเจ้านายให้หายข้องใจ เจ้านายก็ถามว่า
     "คุณเคยเห็นมนุษย์ชาติในโลกนี้ที่ไหนบ้างที่ไหว้หมา  หรือคุณเคยไหว้หมา"
     นายประดิษฐ์กล่าวว่า
     "มีคนบางคน  ไหว้หมาได้ครับ บางคนมันเลียขานายได้"
     "คนๆนั้น คือคุณใช่ไหม่เล่า ?  คนอื่นๆน่ะ เขาไม่ได้หรอก  แม้แต่จะเขียนรูปคนนั่งไหว้หมา  เพราะมันเหยียดหยามคนด้วยกัน คนเห็นคนเป็นคนนั่นแหละคน  คนเห็นคนไม่ใช่คน คนนั้นไม่ใช่คน
     นายประดิษฐ์ ก็หงายหลังกลับไปนั่งเศร้าโศกตีอกชกตนอยู่ที่บ้านคนเดียว 
     นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า  ใจคนคิดอย่างไรก็พูดก็ทำอย่างนั้น เพราะใจคนต่ำช้า จึงทำสิ่งที่ต่ำช้าเลวทราม 
๐๐๐๐๐๐๐๐
     

๑๘.เต่าเหาะ 
     ในการคร้ังหนึ่ง ยังมีสัตว์ ๒ ตัว หากินอยู่ในป่าใหญ่แห่งหนึ่ง เป็นสัตว์สี่เท้า  รูปร่างหน้าตาก็คล้ายคลึงกัน  แต่เจ้าสัตว์ ๒ ชนิดนี้  มักจะแก่งแย่งแข่งดีและอิจฉาริษยากันอยู่ในใจเสมอมา  หารักใคร่กันจริงจังไม่  สัตว์ ๒ ตัวนี้ตัวหนึ่งชื่อว่า  "เต่า"  ตัวหนึ่งชื่อว่า "กระต่าย"   แต่เจ้าเต่ามักจะคุยว่าชื่อจริงๆ  ของตัวชื่อ "ตนุ"   และเจ้ากระต่ายก็ว่าชื่อจริงๆของตัวไพเราะกว่าชื่อว่า  "ศศิ" 
     วันหนึ่ง เจ้าเต่ากับกระต่ายไปหากินก็ไปพบพระอรหันต์องค์หนึ่งในป่านั้น  ท่านได้ญาณสมาบัติมีฤทธิ์ เหาะได้  เมื่อท่านนั่งภาวนาอยู่สักพักท่านมักจะเหาะลิ่วขึ้นสู่ท้องฟ้า   หายไปได้แล้วก็กลับมานั่งที่เก่าได้อย่างอัศจรรย์  ทั้งเจ้าเต่าและเจ้ากระต่ายเห็นฤทธิ์พระอรหันต์บ่อยๆ แล้วก็เอามาเล่าให้กันฟังอย่างตาเหลือกตาแพลมสยดสยองในฤทธานุภาพของพระอรหันต์มากเหลือเกิน
     วันหนึ่งเจ้าเต่าก็นึกในใจว่า  เราจะต้องแสดงฤทธิ์ให้เจ้ากระต่ายเห็นว่าเราเหาะได้เหมือนพระอรหันต์  เจ้ากระต่ายจะได้นับถือเรา  ยอมอยู่ใต้อำนาจของเรา  และหาอาหารมาให้เรากิน  เราจะได้อยู่อย่างมีความสุข   แต่เต่านั้นไม่มีฤทธิ์เหาะเองได้  จึงต้องทำอุบายอวดกระต่ายให้เห็นฤทธิ์  เพราะเจ้าเต่ารู้นิสัยว่าเจ้ากระต่ายนั้นมักจะชอบตื่นเต้นข่าวลือ  และตื่นตูมต่อเสียงอึกทึกครึกโครมอยู่เสมอ  เจ้าเต่าจึงบอกว่า "คืนนี้เดือนหงายสว่างฟ้าเวลาเที่ยงคืน ท่านจงคอยสังเกตดูให้ดีนะเราจะเข้าไปทำพรตบำเพ็ญตบะในป่า แล้วเราจะเหาะให้ท่านดู จะเหาะคู่กับพระอรหันต์เชียวแหละ"   กระต่ายได้ฟังก็เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง ว่าจะจริงหรืออย่างไร  จึงตั้งใจคอยดูอยู่ตลอดคืน
     ฝ่ายเจ้าเต่านั้นไปแอบซุ่มอยู่ข้างอาศรมพระอรหันต์ค่อยเดินเข้าไปอยู่ข้างหลังพระอรหันต์คอยจับตาดูว่าท่านจะเข้าที่ภาวนาเหาะลอยขึ้นเมื่อไร  พอได้จังหวะพระอรหันต์ตัวลอยขึ้น เจ้าเต่าก็เอาปากชายจีวรพระอรหันต์ไว้แน่น  ครั้นแล้วพระอรหันต์ก็เหาะลอยขึ้นไปบนอากาศสูงลิ่วขึ้้นไปบนฟ้า  พร้อมกับเจ้าเต่าเหาะลอยติดขึ้นไปด้วย 
     ส่วนเจ้ากระต่ายคอยจ้องดูอยู่  ณ ที่อยู่  ครั้นเห็นพระอรหันต์เหาะลอยขึ้นไปก็อ้าปากค้าง มองไปมองมาก็เห็นเจ้าเต่าเหาะลอยโทงเทงขึ้นไปด้วย ก็ร้องว่า "เต่าเหาะ ๆๆ " เรียกให้เพื่อนๆดูเต่าเหาะ 
     ส่วนเจ้าเต่าคาบชายจีวรพระอรหันต์เหาะลอยลิ่วขึ้นไปแล้ว  ก้มมองหาเจ้ากระต่ายกลัวจะไม่รู้ไม่เห็นว่าตัวเหาะได้  จึงร้องตะโกนลงมาว่า "กูเหาะแล้วโว้ย"
     ทันใดนั้นเอง เจ้าเต่าก็ลอยลิ่วตกลงมายังพื้นดินดังตุ๊บ  ด้วยจิตเมตตาของพระอรหันต์ท่านเพ่งญาณลงมาดูเต่า  จึงคุ้มชีวิตไว้ไม่ตาย แต่ร่างกายของเต่าก็ยุบรวมลงเหมือนเนื้อก้อนหนึ่งกลมๆ กระดูกก็แตกละเอียดหมดแล้ว  กลายเป็นกระดองเต่าห่อหุ้มเนื้่อไว้  เต่าจึงกลายเป็นสัตว์ตัวกลมๆ กระดูกออกนอกเนื้อหุ้มครอบเนื้อไว้  ดังเช่นทกวันนี้
     นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า   ถ้าเต่าไม่โง่คุยโอ่ก็คงจะไม่มีกระดูกออกมานอกเนื้ออย่างทุกวันนี้ 
๐๐๐๐๐๐๐๐

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

นิทานธรรมดาโลก (๕)



๑๓. ปากร้ายเพราะใจโง่

     สุนัขตัวหนึ่ง  มันเห็นเจ้าของบ้านตากเนื้อไว้บนหลังคา   มันก็นึกอยากกินจนน้ำลายไหล  แต่มันก็ปืนขึ้นไปไม่ถึง  มันจึงได้แต่นั่งมองนอนมองอยู่ 
     ขณะน้ันมันเห็นกาตัวหนี่งบินมาคาบเอาเนื้อชิ้นหนึ่งบินไป มันจึงวิ่งตามไป ส่วนกาได้ชิ้นเนื้อแล้ว  ก็บินไปเกาะกิ่งไม้ใหญ่อยู่  เตรียมจะจิกกินก้อนเนื้อน้ันเป็นอาหาร 
     สุนัขมันจึงร้องด่ากาไปว่า "กาดำ - กาดำ - กาดำ"
    กาได้ยินเสียงสุนัขร้องด่าก็โกรธ  จึงร้องด่าสุนัขว่า "หมาบ้า"
    ขณะน้ันชิ้นเนื้อก็หลุดจากปากกาลงสู่พื้นดิน  ก่อนที่สุนัขจะคาบชิ้นเนื้อกิน  ก็ร้องเยาะเย้ยกาว่า  "เจ้ากาดำ นอกจากสีกายเจ้าจะดำแล้ว  ปากเจ้าก็ร้าย ใจเจ้าก็โง่" 
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า  ผู้ที่ปากเปราะเราะร้าย ชอบด่าว่าผู้อื่นน้ัน ทำให้เสื่อมลาภ เสื่อมยศ เสียมิตร มานักต่อนักแล้ว
๐๐๐๐๐๐๐๐


๑๔. บรเพ็ดกับอ้อย

     บรเพ็ดกับอ้อย ขึ้นอยู่ในที่ใกล้เคียงกัน  จึงเป็นเพื่อนกัน แต่บรเพ็ดกับอ้อยย่อมมีธรรมชาติที่แตกต่างกัน บรเพ็ดมีรสขม  อ้อยมีรสหวาน  ต่างก็รู้ธรรมชาติของกันและกันดี  แต่เมื่ออยู่ใกล้เคียงกัน  จึงต่างเห็นอกเห็นใจกัน เข้าใจธรรมชาติที่แตกต่างกัน จึงคบกันเป็นเพื่อน มิได้รังเกียจและตำหนิกันแต่อย่างใด
     วันหนึ่งบรเพ็ดกับอ้อย จีงได้สนทนากัน บรเพ็ดเจ้าปัญหาจึงได้ถามอ้อยขึ้นว่า  เหตุใด  เราจึงอยู่ในที่ใกล้เคียงกัน  กินอาหารอย่างเดียวกัน  สูดอากาศอย่างเดียวกัน รับแสงอาทิตย์ดวงเดียวกัน รับแสงจันทร์ดวงเดียวกัน รับสายลมอย่างเดียวกัน รับสายฝนอย่างเดียวกัน แต่ธรรมชาติแห่งรสชาติของเราจึงแตกต่างกันมากมายเช่นนี้  ท่านทราบหรือไม่ว่า  เราต่างทำบุญทำกรรมสิ่งใดมา  เราจึงเกิดมาในอัตภาพที่แตกต่างกัน  และมีคุณภาพแตกต่างกันเป็นปานนี้
     อ้อยปากหวานจึงได้ตอบบรเพ็ดอย่างอ่อนหวานว่า  เราก็เป็นเพียงพืชล้มลุกชั้นต่ำหามีปัญญาตรัสรู้ถึงชาติกำเนิดไม่ว่า บุญกรรมได้สร้างเรามาอย่างไร จึงเกิดมามีอัตภาพทีแตกต่างกันเช่นนี้  เราก็ทราบแตเพียงว่า เราเกิดมามีธาตุแห่งความหวานอยู่ในตัวเราแล้วต้ังแต่แรกเกิด  เราจำความได้ว่า  ตั้งแต่อ้อนแต่ออกมา  เราก็มีคุณสมบัติแห่งความหวานอยู่ในตัวเราแล้วตั้งแต่เกิด  เป็นน้ำเชื้ออยู่ในกายเรา  เมื่อเราดูดเอาไอน้ำแห่งดินเข้ามาเป็นอาหารบำรุงเลี้ยงลำต้นของเราไม่ว่าอาหารน้ันจะเป็นธาตุอะไร  ก็ย่อมเปลี่ยนคุณสมบัติเป็นธาตุหวานแห่งน้ำตาลอยู่ในกายของเราจนสิ้น  ความหวานในลำต้นของเราย่อมมีมากขึ้นตามปริมาณแห่งลำต้นของเรา ก็เกิดจากอาหารที่เราดูดมาบำรุงเลี้ยงลำต้นน้ัน ได้เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติมาเป็นธาตุหวานตามธาตุเดิมเชื้อเดิมของเราสิ้น  คุณสมบัติแห่งธาตุหวานที่เรามีอยู่นั้นแหละช่วยเปลี่ยนแปลงอาหารและน้ำที่เราดูดกินให้เป็นน้ำตาลไปได้  ส่วนแสงแดดก็เพียงช่วยปรุงอาหาร สายลมก็ช่วยให้เราได้ออกกำลังกาย แสงจันทร์ก็ช่วยเพิ่มพลังการดูดน้ำแก่เราให้มากขึ้น สายฝนก็ช่วยเพิ่มน้ำในดินให้เราดูดอาหารสะดวกขึ้น  แต่ทุกสิ่งทุกอย่างก็ช่วยเป็นปัจจัยเพิ่มความหวานให้แก่เราทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งสิ้น  แม้แต่ยามแล้ง  น้ำฝนในดิน ก็ยังช่วยความหวานในลำต้นของเรามีความเข้มข้นขึ้นทางอ้อม 
     บรเพ็ดได้ฟัง  ก็นิ่งตรึกตรองอยู่ครู่หนึ่ง  แล้วจึงกล่าวว่า ท่านเข้าใจกล่าวให้เราฟังจนเกิดปัญญาขึ้น ถ้าเช่นน้ันก็หมายความว่า เรามีธาตุขมอยู่ในลำต้น  อาหารที่เราดูดขึ้นมาบำรุงเลี้ยงลำต้นก็ถูกเปลี่ยยนแปลงคุณสมบัติให้เป็นความขมตามธาตุเนื้อเดิมในร่างกายของเราเช่นน้ันหรือ 
     อ้อยกล่าวว่า เราเข้าใจว่าท่านพูดถูกแล้ว  
     บรเพ็ดกล่าวว่า  เราเสียใจนักที่ธรรมชาติไม่ได้สร้างเกิดมามีรสหวานเหมือนท่าน  
     อ้อยตอบว่า  ท่านอย่าได้เสียใจเลย ธรรมชาติย่อมสร้างพืชทุกชนิดให้มีความเหมาะสมที่สุด  ที่จะเป็นคุณประโยชน์แก่ตนและแก่โลกทุกชนิดไป 
     บรเพ็ดกล่าวว่า  เราปรารถนาจะฟังถ้อยคำอันเป็นมธุรสวาจาของท่านเพื่อปลอบใจเรา
     อ้อยกล่าวว่า เราพูดนี้มิได้ปรารถนาจะปลอบใจท่านด้วยความหวาน อันเป็นเท็จ  แต่เรากล่าวคำจริง ถ้าคำจริงนั้นถูกหูถูกใจท่าน  มันก็จะเป็นมธุรสวาจา เราก็มีความยินดีที่คำสัตย์จริงของเรากลายเป็นมธุรสวาจาไปด้วย  คือธาตุหวานของเราก็ดี ธาตุขมของท่านก็ดี ธาตุเผ็ดของพริกไทยก็ดี  ธาตุเปรี้ยวของส้มก็ดี ล้วนแต่เป็นคุณประโยชน์แก่พืชนั้นๆ ทั้งสิ้น  ในเวลาเดียวกันก็เป็นคุณประโยชน์แก่โลกด้วย ธาตุหวานของเราก็ย่อมบำรุงเลี้ยงเราให้เจริญเติบโต และในเวลาเดียวกันก็ย่อมเป็นอาหารแก่สัตว์โลก การที่เราต้องเป็นอาหารแก่สัตว์โลกน้ันท่านอาจคิดว่าเป็นโทษ  คือ เป็นความทุกข์ทรมานก็จริงอยู่  แต่ในเวลาเดียวกันก็ย่อมเป็นการรักษาพงศ์พันธ์ุของเราให้คงอยู่ในโลกต่อไป  เพราะสัตว์โลกย่อมเอาเราไปปลูกเลี้ยงไว้มิให้สูญพันธุ์   ถึงตัวท่านก็เหมือนกัน ธาตุขมของท่านนั้น ย่อมบำรุงเลี้ยงลำต้นของท่านให้เจริญเติบโตต่อไป  ในเวลาเดียวกันก็ย่อมจะเป็นยารักษาโรคของชาวบ้านด้วย นี่คือประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน การที่ความขมของท่านเป็นยารักษาโรคได้  เขาย่อมบำรุงเลี้ยงท่านไว้มิให้สูญพันธุ์ไปจากโลกด้วย  หมายความว่าธาตุหวานของเราก็เท่าเทียมกันกับธาตุขมของท่าน มิได้น้อยหน้ากันเลย 
     บรเพ็ดพูดว่า  นี่แหละเขาว่า  น้ำตาลปากหวาน  คำพูดของท่านหวานหูเรานัก  แต่เราก็ยังอิจฉาท่านอยู่ว่า  พืชพันธุ์ของท่านแพร่หลายไปในโลกกว้างขวางนัก  เพราะธาตุหวานของท่านที่มนุษย์สัตว์ชอบนี้เอง ส่วนธาตุขมของเรานั้น มนุษย์สัตว์ไม่ใคร่ชอบนัก พืชพันธุ์ของเราจึงมิใคร่แพร่หลายกว้างขวางเท่าไรเลย
    อ้อยตอบว่า  การที่พืชพันธุ์ว่านเครือของเราแพร่หลายไปมากนั้นก็ต้องพบกับการฆ่าการบีบคั้น  เป็นความทุกข์ทรมานมากขึ้นตามส่วนเหมือนกัน  ทำไมท่านไม่มองในเวลาที่เรามีทุกข์ทรมานบ้างเล่า  แล้วท่านไม่เคยได้ยินบ้างหรือว่าเขากล่าวกันว่า  "หวานเป็นลมขมเป็นยา"  ธาตุหวานของเราเป็นอาหารก็จริงอยู่  แต่ถ้ามีอยู่ในโลหิตมนุษย์มากเกินส่วนก็เรียกว่ามีน้ำตาลมาก   ก็เรียกว่ามีน้ำตาลมากจะทำให้เป็นลมได้จริงๆ   เรียกว่าเกิดโรคเพราะความหวาน แต่ความขมของท่านนั้นเป็นยาฟอกโลหิตให้สะอาด  ความขมจึงรักษาโรคได้เรียกว่า ขมเป็นยาเป็นของจำเป็นแก่โลกเท่าๆกับอาหาร
     นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า  ทุกสิ่งในโลกนี้ย่อมมีคุณสมบัติเป็นประโยชน์แก่ตนเองและต่อโลกเสมอเหมือนกันหมด
๐๐๐๐๐๐๐๐   

๑๕ เรือพายแจวถ่อ

     คร้ังหนึ่งเรือพายแจวถ่อ ๔ สหาย  ได้พากันเดินทางไปตามลำน้ำอันกว้างใหญ่แห่งหนึ่ง   เมื่อเริ่มออกเดินทางน้ันทั้ง ๔สหายก็รักใคร่ปรองดองกันดีอยู่  คร้ันเดินทางไปนานเข้า ไกลเข้าก็เริ่มทะเลาะเบาะแว้งระหองระแหงกัน เริ่มด้วยการเกี่ยงงอนและอิจฉาริษายาด่าว่ากระทบกันก่อนถึงขั้นทะเลาะกันรุนแรง 
     ถ่อ  กล่าวว่า   เรือดีแต่อยู่เฉยๆ นั่งนอนสบายกว่าเพื่อน  แต่ตนต้องทำงานหนัก ที่ไหนหนัก หน้าถ่อก็ต้องทำทุกที
     แจว  ก็โกรธ  ว่าตนทำงานมากกว่าคนอื่น  ถ่อก็ดีแต่ค้ำถ่อในที่บางแห่งเท่าน้ัน  แต่แจวต้องทำงานยืนพื้น   พายก็สบายมาก ทำงานเบา  เรือก็นั่งนอนสบาย 
     พาย ก็เคืองว่า ตนก็มีหน้าที่ทำงานในเวลาหนึ่งเช่นเดียวกัน  ส่วนแจว ถ่อ และเรืองานไม่จุกจิกเหมือนพาย
     เรือ  ก็ร้องห้ามว่า  เราจะได้นั่งนอนอยู่เฉยๆ ก็หาไม่  เราต้องมีหน้าที่บรรทุกสัมภาระอันหนักรวมทั้ง ถ่อ แจว พาย ก็ได้อาศัยอยู่บนอกเราทั้งสิ้น  แจว พาย ถ่อ ต่างหากทีทำงานเบากว่าเราเป็นไหนๆ  ถ้าท่านเห็นว่าเราทำงานเบา ก็ให้มาทำหน้าที่แทนเราดูบ้าง
     ถ่อก็ว่าให้เรือมาทำหน้าที่แทนถ่อดูบ้าง ก็คงทำไม่ได้
     แจวว่า  ให้เรือมาทำหน้าที่แทนแจวดูเถิด  ท่านเห็นว่าเพียงไหน แต่เรือก็ไม่มีความสามารถทำได้
     พายก็ว่า ให้แจว ถ่อ และเรือมาทำหน้าที่แทนเราดูเถิด จะเห็นว่าหนักเพียงไหน  แต่ก็ไม่มีใครรับทำ
     เมื่อเรือ ถ่อ แจว พาย  เกิดทะเลาะกันใหญ่ เช่นนี้ พระพายและพระพิรุณก็คิดจะสั่งสอนให้รู้สึกตัวเสียบ้าง  พระพายจึงพัดมาอย่างแรงกล้า พระพิรุณก็ตกหนักทำให้เรือ พาย แจว ถ่อ แตกกระจัดกระจายพลัดพรากจากกันไปคนละทิศละทาง  เรือก็ลอยไปตามยถากรรมทางหนึ่ง แจวก็ลอยไปทางหนึ่ง ถ่อก็ลอยไปทางหนึ่ง  พายก็ลอยไปทางหนึ่ง  
     เมื่อเรือลอยไปใกล้จะจมน้ำตาย  ก็คร่ำครวญว่า  "เราเป็นเรือใหญ่กว่าแจว ถ่อ พาย ก็จริงหนอ แต่ชีวิตเราก็ขาดพวกเขาไม่ได้เลย"
     ถ่อนั้น เมื่อใกล้จะจมน้ำตาย ก็ร้องไห้สงสารตัวเอง กล่าวว่า "ชีวิตเราเกิดมาเพื่ออยู่กับเรือแท้ๆ เมื่อขาดเรือเสียแล้ว  เราก็อยู่ไม่ได้"
     แจวนั้น เมื่อใกล้จะจมน้ำ ก็คร่ำครวญคิดถึงเรือ ร้องว่า  "เรือเป็นมิตรของเราแท้  ชีวิตเราขาดเรือเราก็ตาย"
     พายนั้น ร้องไห้โอดครวญนัก  เมื่อรู้ว่าตัวจะต้องจมน้ำตาย  กล่าวว่า "เรือเป็นคู่ชีวิตของเราชีวิตเราเกิดมาคู่กับเรือ  เมื่อขาดเรือเสียแล้ว  เราก็ต้องตาย"
     เมื่อพระพิรุณได้ทรมานเรือ แจว พาย ถ่อ พอสมควรรู้สีกตัวแล้ว  จึงหยุดตก  พระพายก็ค่อยๆพัดให้เรือ แจว พาย ถ่อ ไปพบกัน  ทั้ง ๔ สหายก็ดีใจนัก   ตรงเข้ากอดกัน  และสาบานว่าต่อจากนี้ เราจะไม่พรากจากกัน  ถ้าใครไม่ทำหน้าที่ของตนคิดเอาใจออกห่างไป ขอให้ผู้นั้นถึงวิบัติ 
     นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า  บุคคลทุกคนที่อยู่ร่วมกันย่อมมีหน้าที่การงาน การงานน้ันย่อมเป็นประโยชน์แก่ตนและเป็นประโยชน์แก่หมู่คณะ เมื่อบุคคลใดไม่ทำหน้าที่ของตน  ตนก็วิบัติ หมู่คณะก็วิบัติไปด้วย  
๐๐๐๐๐๐๐๐

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

นิทานธรรมดาโลก (๔)



๑๐ แมงป่องชูหาง 

     ครั้งหนึ่งงูเหลือมเห็นว่าพิษร้ายในร่างกายของตนน้ันไม่มีคุณ  มีแต่โทษ  จึงประกาศแก่สัตว์ท้ังหลายว่าจะคายพิษทิ้งเสีย  ใครอยากได้ก็มาเอาไป ครั้งนั้นบรรดาสัตว์เล็กน้อยทั้งหลายที่เชื่อถือว่างูเหลือมจะคายพิษจริง  ก็พากันมาดื่มพิษกันมาก  แต่บรรดาสัตว์ส่วนใหญ่ไม่มีใครเชื่อว่างูเหลือมจะคายพิษจริง  จึงไม่มาดื่มกัน
     ในบรรดาสัตว์น้อยนั้นก็มีแมงป่องอยู่ด้วย แมงป่องตัวเล็ก จึงดื่มพิษไว้ได้เล็กน้อย ไม่เพียงพอที่จะทำอันตรายแก่ชีวิตสัตว์ใดได้  แมงป่องรู้ตัวว่าตัวเองมีพิษน้อย  และเกรงกลัวไปว่าสัตว์อื่นจะไม่รู้ว่าตนก็มีพิษ  และพิษนั้นแทนที่จะอยู่ที่เขี้ยวในปาก ก็กลับไปอยู่ที่ปลายหาง  แมงป่องจึงต้องชูหางเอาไว้เสมอ  เพื่อประโยชน์ ๒ ประการคือ เพื่อมิให้พิษที่มีอยู่เล็กน้อยนั้นหกหายไปเสียหมดอย่างหนึ่ง เพื่อให้สัตว์ทั้งหลายรู้และคร้ามเกรงวาตนมีพิษอันร้ายแรงอยู่  แมงป่องจึงต้องชูหางอยู่ตลอดกาล 
     นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า   ผู้ที่รู้ตัวว่าตนมีทรัพย์สมบัติน้อย หรือมีคุณสมบัติน้อย ก็มักระมัดระวังรักษา และในเวลาเดียวกัน  ก็มักโอ้อวดยกตัวด้วย  เพราะฉนั้นเมื่อพบผู้ใดขี้ตระหนี่ก็พีงรู้ว่าเขาเคยจน เมื่อพบผู้ใดขี้โอ้อวดก็พึงรู้ว่าผู้นั้นมีสิ่งนั้นไม่มากพอ และดีพอที่จะทำให้เขาคิดปกปิดซ่อนเร้น 
๐๐๐๐๐๐๐๐


๑๑. มดสี่เหล่า

     อีเห็นเป็นสัตว์รูปร่างคล้ายหนูพุกหรือพังพอน แต่ตัวโตกว่า ปากแหลม มันเป็นสัตว์กินมดตามพื้นดิน มันจึงรู้จักมดดีที่สุด
     คราวหนึ่งอีเห็นตัวหนึ่งมันมีลูก  พอลูกมันหย่านม สมควรจะกินมดเป็นอาหารได้แล้ว  มันจึงพาออกหามดกิน  และสอนลูกของมันไปด้วย
     เมื่อมันเห็นมดดำหนึ่งเดินมา มันก็บอกให้ลูกของมันดู พลางบอกว่ามดสีนี้เรียกว่า  มดดำ   เป็นมดที่โง่และป่าเถื่อนที่สุดในจำพวกมดด้วยกัน มีที่สังเกตุได้คือมันชอบเดินตัวเดียวเป็นอิสระ  ไม่ชอบอยู่เป็นหมู่คณะ  บางจำพวกก็ขี้ขลาดมาก เห็นอะไรผิดปกติก็รีบวิ่งหนีไปโดยเร็ว  บางจำพวกก็ดุมาก  เห็นศัตรูก็ตรงเข้ากัดทันที  เป็นลักษณะของสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง  มันชอบขุดรูอยู่ตามพื้นดิน ในรูหนึ่งก็อยู่รวมกันไม่กี่ตัว  เป็นลักษณะของสัตว์ที่ยังไม่เจริญ  การหาอาหารเมื่อพบซากสัตว์ก็ขนไปไว้ในรู  เป็นลักษณะของการล่าสัตว์อย่างหนึ่ง  กินหมดแล้วก็หาใหม่ต่อไป  ไม่มีการสะสมอาหาร  การหาอาหารก็หาแต่ลำพังตัวเดียวไม่สามัคคีช่วยกันแต่อย่างใด ถ้าหาอาหารพร้อมกันก็แย่งกันลากดึงไปคนละทาง  ไม่ช่วยกันลากขนแต่อย่างใด  มดดำจึงเป็นมดที่โง่และป่าเถื่อนที่สุด
     เมื่อเดินไปพบมดสีแดง  ตัวเล็กๆ ทำรังด้วยดินเป็นก้อนกลมๆ เท่าลูกฟุตบอลขนาดเล็กอยู่บนกิ่งไม้  อีเห็นก็บอกลูกมันว่า มดชนิดนี้เป็นมดสีแดง เรียกว่า มดรี่ มันเป็นมดดุ  เมื่อเห็นศัตรูกล้ำกลายเข้าใกล้รังมัน  มันจะพากันวิ่งรี่เข้ากัดทันที  จึงเรียกว่า มดรี่  มันเป็นมดทีเจริญกว่ามดดำ  เพราะมันรู้จักช่วยกันขนดินมาสร้างรังของมันอยู่บนยอดไม้ พ้นจากน้ำท่วมและสัตว์อื่น  มันอยู่กับหมู่คณะ มันช่วยกันหาอาหาร มันช่วยกันต่อสู้เมื่อมีศัตรู  มันมีความป่าเถื่อนอยู่ที่มันมีร่างกายแข็งแรงและดุร้าย  เจ้าเจอมดจำพวกนี้จะต้องระวังตัวให้ดี  
     อีเห็นมันพาลูกของมันเดินต่อไป  จนไปพบมดอีกชนิดหนึ่งสีเหลือง มันก็บอกให้ลูกของมันดุว่า มดชนิดนี้เป็นมดที่เจริญพอๆกับมดรี่  แต่มันมีร่างกายใหญ๋โตกว่า มดแดง มันทำรังอยู่บนต้นไม้ แต่ไม่ใช่ดิน  มันใช้ใบไม้แห้งๆมาทำรังอยู่  และมันรวมกันอยู่เป็นหมู่คณะ  มันช่วยกันหาอาหาร ถ้ามีศัตรูเข้าใกล้รังมัน  มันจะช่วยกันกัดศัตรูของมัน  ไม่ว่าศัตรูนั้นจะเล็กใหญ่เพียงใด ถึงเป็นช้างมันก็สู้ มันฉลาดกว่ามดรี่ ที่ถ้ามดตัวใดถูกทำร้ายตายลง  มันก็ได้กลิ่นมันจะพากันวิ่งกรูเข้ามาช่วยกันกัดทันที  มันเลือกกัดตรงที่มีเนื้ออ่อนเสียด้วย  ไม่เหมือนมดรี่ที่กัดดะทั่วไปไม่เลือกและไม่วิ่งกรูกันมาตามกลิ่นเหมือนมดแดง  เจ้าพบมดชนิดนี้ จะต้องรู้จักหนีให้ดี
     แล้วอีเห็นก็พาลูกของมันตระเวนต่อไปจึงถึงปลวกแห่งหนึ่ง มันก็เอาเล็บเท้าตะกุยปลวกนั้นลงไปเป็นช่อง  มองเห็นโพรงภายใน  มันก็บอกให้ลูกมันดู  ลูกมันก็มองเห็นมดชนิดหนึ่งสีขาว  มีลักษณะอ่อนนิ่ม แต่หัวใหญ่ ปากแข็งแรงพากันเดินเรียงแถวอยู่ในปลวกนั้น แล้วก็เดินเรียงแถวออกมา  อีเห็นก็จับกินบ้าง ให้ลูกกินบ้าง  เป็นมดที่กินอร่อยที่สุด  แต่มันก็เป็นมดที่ฉลาดที่สุด  เจริญที่สุดในจำพวกมดด้วยกัน  มันรู้จักสร้างรังของมันอย่างแข็งแรง  วิจิตรพิสดาร เป็นตึกราม เป็นห้องหับต่างๆ ทั้งเป็นทีอยู่ของมันเอง เป็นที่เก็บไข่ และลูกอ่อนของมัน ที่เก็บอาหารของมันก็มี  รวมท้ังที่เก็บน้ำด้วย  มันอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ  มีการปกครองกันเป็นระเบียบมันมีราชินีของมัน มันเป็นมดตัวผู้สำหรับผสมพันธ์ มีมดกรรมกรสำหรับทำงาาน มันเป็นมดที่ขยันขันแข็งที่สุด มันเป็นมดไม่ดุร้าย  แต่มันก็ช่วยกันรุมกัดศัตรูของมันเต็มที่ ปากของมันมีเขี้ยวคม ไม้แข็งๆมันก็กัดขาดหมด เป็นมดประเภทที่น่าสนใจมาก และกินอร่อยที่สุด 
     ลูกของมันถามว่า มดในโลกนี้มี ๔ ชนิดเท่านี้หรือ 
     แม่ของมันตอบว่า มดมีมากมายหลายพันชนิด  แต่ชนิดอื่นมีน้อยไม่ค่อยสำคัญ  แต่ที่สำคัญ ก็มีอยู่ ๔ ชนิด ๔ สี คือ มดดำ มดแดง มดเหลือง มดขาว นี้เท่าน้ัน  ความเจริญความฉลาด มดดำ ต่ำที่สุด มดขาวสูงสุด
     นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า มดมี ๔ สี่  ๔ เหล่าฉันใด  มนุษย์ก็มี ๔ สี  ๔ เหล่าฉันนั้น มนุษย์สีดำ ความเจริญหรือความฉลาดต่ำที่สุด คนแดงเจริญขึ้นมา คนเหลืองฉลาดและขยันมากขึ้น คนขาวขยันและฉลาดสูงที่สุด  และเจริญที่สุดเช่นเดียวกัน  แม้นมนุษย์ในชาติเดียวกัน ก็แบ่งออกเป็น ๔ ระดับ  โดยคำสาปของพระพรหม เช่นนี้ด้วย 
๐๐๐๐๐๐๐๐


๑๒.ปั้นน้ำเป็นตัว 


      ชายผู้หนึ่งมีบุตรชายสองคน  คนพี่เป็นคนรักความสัตย์จริง  ชอลพูดแต่คำสัตย์จริงเสมอ คำเท็จนั้นไม่ยอมพูดให้หลุดปากออกมาเลยเป็นอันขาด คนพี่นี้ชื่อบุญเกิด
     ส่วนคนน้องเป็นคนชอบพูดจาเหลวไหล  ชอบเอาความเท็จมาพูดเป็นความจริง  ชอบปั้นน้ำเป็นตัวอยู่เสมอ  คนน้องนี้ชื่อว่า  บุญปั้น 
     คราวหนึ่งบิดาได้ยินเสียงบุตรชายคนโตพูดว่าน้องชายว่า  ชอบปั้นน้ำเป็นตัวสมชื่อบุญปั้น  แต่ถ้าจะให้เหมาะสมควรให้ชื่อว่า ปั้นน้ำเป็นตัวเสียเลย 
     บิดาจึงเรียกบุตรคนเล็กมาสั่งสอนว่า บุคคลในโลกนี้ที่ชื่อว่าปั้นน้ำเป็นตัวนั้น  ที่สำคัญมีอยู่  ๔ จำพวก
     พวกที่หนึ่ง  ได้แก่ คนทำตาล  ย่อมมีอาชีพปืนต้นตาล  เอามีดปาดงวงตาล แล้วเอากระบอกรองน้ำตาลที่หยดออกมาจากงวงทีละหยดนั้นรวมกันเป็นสิบกระบอกแล้วก็เอามาใส่กะทะเคื่ยวไฟจนเดือดแห้งงวดเป็นน้ำตาล  ใส่หม้อดินก็เรียกน้ำตาลหม้อ ใส่ปีปก็เรียกน้ำตาลปีป  ใส่ชามเป็นปึก ก็เรียกน้ำตาลปึก คนขึ้นตาลย่อมได้ชื่อว่า ปั้นน้ำเป็นตัว แต่น้ำที่ปั้นนั้นคือน้ำตาลมีรสหวาน คนทั้งหลายต้องการซื้อหาเอาไปรับประทาน คนป้ันน้ำเป็นตัวจำพวกนี้  เป็นผู้ทำประโยชน์เลี้ยงตนและผู้อื่น จึงไม่มีใครรังเกียจเกลียดชัง 
     พวกที่สอง  ได้แก่  คนทำนาเกลือ  ย่อมมีอาชีพไขเอาน้ำทะเลเข้ามาขังไว้ในนาเกลือของตน  ปล่อยให้แสงอาทิตย์แผดเผาจนน้ำเค็มนั้นแห้งงวดลงเหลือแต่รสเค็มคกตะกอนเป็นก้อนสีขาวๆ อยู่ในนาจึงเก็บเอามารวมกองไว้ขายเป็นสินค้า  เรียกว่า เกลือ  คนจำพวกนี้จึงนับว่าเป็นพวกปั้นน้ำเป็นตัวอีกพวกหนึ่ง  แต่น้ำที่เขาปั้นเป็นตัวนั้นก็คือเกลือ  มีรสเค็ม ย่อมเป็นที่ต้องการของคนทั้งหลาย ซื้อหาเอาไปปรุงอาหารและยาบริโภค  คนทำนาเกลือจึงเป็นผู้ที่ทำประโยชน์เลี้้ยงตนและคนอื่น จึงไม่มีผู้ใดคิดรังเกียจเกลียดชัง
     พวกที่สาม  ได้แก่ คนทำน้ำแข็ง  ย่อมมีอาชีพตั้งโรงงาน ใช้เครื่องจักรสูบเอาน้ำจืดเข้ามาทำความเย็นจนน้ำนั้นถึงจุดน้ำแข็ง  ก็แข็งตัวเป็นก้อน เขาจึงขายน้ำแข็งเป็นก้อนมีความเย็นจัดนั้นให้คนบริโภค  ถึงน้ำแข็งจะเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย ไม่จำเป็นแก่ชีวิตมากนัก แต่ก็ยังมีคุณประโยชน์ใช้แช่ยาและอาหารสดให้สดอยู่ได้นานไม่เน่าเปื่อย  ใช้ผสมเครื่องดื่มก็ทำให้เย็นชื่นใจไม่ยามร้อน  คนทำน้ำแข็งจึงเป็นผู้ที่ทำประโยชน์ให้แก่ตนและผู้อื่น  จึงไม่มีผู้ใดรังเกียจเกลียดชัง
    พวกที่สี่  ได้แก่ผู้ที่โกหกหลวกลวงผู้อื่นให้หลงเชื่อ เอาความเท็จมาพูดว่าเป็นความจริง  เอาความไม่มีตัวตนมาพูดว่ามีตัวตน  เอาความไม่มีเรื่องมาพูดให้มีเรื่อง  คนโกหกจึงเป็นคนปั้นน้ำเป็นตัวอีกประเภทหนึ่ง  แต่มิได้ทำประโยชน์ให้แก่ผู้ใด  ถึงตนเองจะได้รับประโยชน์จากการโกหกนั้นในตอนแรก แต่ตอนหลังก็ย่อมได้รับโทษคือ ความเดือดร้อน  เพราะมีแต่คนรังเกียจเกลียดชัง ไม่มีใครเชื่อถือ  ไม่มีใครอยากคนค้าสมาคมด้วย  แม้แต่หญิงสาวก็ไม่อยากได้เป็นสามี  ชายหนุ่มก็ไม่อยากได้เป็นภรรยา  เพราะกลัวเกรงว่าจะโกหกหลวงลวงเขาในวันหน้า  เป็นธรรมดาของมนุษย์ทุกคนย่อมอยากฟังแต่คำสัตย์จริง ไม่อยากถูกโกหกหลอกลวง  จึงไม่อยากคนคนโกหก รังเกียจเกลียดชัง คนโกหกจำพวกปั้นน้ำเป็นตัวประเภทที่สึ่นี้ 
     บุตรได้ฟังบิดาสั่งสอนเช่นนั้น ก็รู้สึกละอายใจมาก รู้สึกผิดรู้สึกชอบ จึงกล่าวปฎิญาณตนต่อบิดาว่า  ต่อแต่นี้ไปจะไม่พูดคำเท็จอีกเป็นอันขาด 
     นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า  การปั้นน้ำเป็นตัวดีก็มีประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น  แต่ปั้นน้ำเป็นตัวที่ชั่วช้า  คือ การโกหก หลวกลวงผู้อื่น ย่อมได้รับแต่ความรังเกียจเกลียดชังจากคนทั้งหลาย 
๐๐๐๐๐๐๐๐