วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

นิทานธรรมดาโลก (๓)


๗. แร้งกับเหี้ย

     ครั้งหนึ่งมีสัตว์สองชนิดเป็นมิตรสหายกัน  เพราะมีนิสัยจิตใจคล้ายคลึงกัน  คือแร้งกับเหี้ย  ทั้งแร้งกับเหี้ยเป็นสัตว์ถือศีล  ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่นที่เกิดมาร่วมโลกนี้ไม่ว่าสัตว์เล็กหรือสัตว์ใหญ่   ก็ล้วนแต่เกิดมาร่วมโลกเดียวกัน  รักสุข เกลียดทุกข์ ไม่อยากให้สัตว์อื่นมาเบียดเบียนรังแกตน  จึงไม่ควรเบียดเบียนรังแกสัตว์อื่น  
     แร้งและเหี้ยเป็นสัตว์เดรัจฉานที่จะเกิดในชาตินี้เท่าน้ัน  เมื่อสิ้นอัตภาพนี้แล้ว เพราะเหตุที่ถือศีลโดยเคร่งครัดเช่นนี้  ก็จะได้เกิดเป็นมนุษย์ในชาติต่อไป  สัตว์ทังสองชนิดนี้มีธรรมชาติแตกต่างกันคือ  แร้งเป็นสัตว์ประเภทนก เหี้ยเป็นสัตว์สี่เท้า  ทั้งสองจึงตกลงแบ่งเขตหากินกันที่พระพรหมผู้เป็นเจ้าโลกกำหนด  แร้งให้หากินบนบกอันเป็นที่ดอนทั่วไป  ส่วนเหี้ยให้หากินตามที่ลุ่มชายแม่น้ำลำคลองทั้วไป  อาหารที่หากินน้ันคือ ซากสัตว์ที่ตายแล้ว ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของหวงห้าม  หมายความว่าท้ังแร้งและเหี้ยจะต้องถือศีลตลอดชีวิตสองข้อ คือ ปาณาติปาตาเวรมณี งดเว้นไม่ทำลายชีวิตสัตว์อื่นเป็นอาหาร ข้อสองคือ อทินาทานาเวรมณี  งดเว้นไม่กินสัตว์ที่เจ้าของหวงห้าม เช่น เขาใส่ภาชนะไว้ หรือผูกเชือกไว้เป็นต้น   สัตว์ทั้งสองได้ถือปฎิบัติโดยเคร่งครัดตลอดมา 
     วันหนึ่งเป็นวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ  เดือน ๖ สัตว์ทั้งสองได้หยุดหากินวันหนึ่งในรอบปี และได้พบกัน ณ ที่ต้นโพธิใหญ่หน้าโบสถ์แห่งหนึ่ง  จึงได้สนทนากัน 
     คิชฌกะ  : ยังไง ท่านโยธกา สุขสบายดีหรือ 
     โยธกา   : สุขสบายดีเป็นปกติ  ท่านเล่าอาหารฝืดเคืองหรือ                                  บริบูรณ์ดีอยู่ประการใด
     คิชฌกะ : ตราบใดที่โลกนี้ยังมีสัตว์ต้องเกิด ต้องตายอยู่  อาหาร                          ของเราก็บริบูรณ์ดีอยู่ตราบน้ัน
     โยธกา :   ทราบว่า แต่ก่อนนี้ซากศพของมนุษย์ก็ทิ้งไว้ให้เป็น                              อาหารแก่ท่านบ้าง  แต่เดี๋ยวนี้มักจะฝังอย่างมิดชิด  ไม่                        กินก็เผาเสียหมดสิ้น  มิทำให้ท่านขาดอาหารหรือ 
     คิชฌกะ : ก็เป็นแต่บางประเทศหรอก แต่บางประเทศที่เกิด                                 สงครามหรือความอดอยาก และโรคระบาดก็ทอดทิ้งศพ                       ไว้  แต่บางประเทศกินไม่หวาดไม่ไหวเสียอีก
     โยธกา :  ท่านก็บินอยู่สูงเทียมเมฆ เหตุไฉนท่านจึงมองเห็น                               ซากศพได้เล่า
     คิชฌกะ : พระพรหมสร้างเรามาให้มีสายตาดีเป็นพิเศษ  มองเห็น                       ได้ชัดจากที่สูง  ก็เหมือนท่านที่มีจมูกดีเป็นพิเศษ  อาจ                       ได้กลิ่นซากศพได้ไกลๆ 
    โยธกา :   เหตุใดมนุษย์จึงถือสังหรณ์ว่าถ้าท่านลงไปที่บริเวณบ้าน                     เรือนของเขา  เขาจึงมีอันตรายเกิดวิบัติแก่ทรัพย์สินและ                     ชีวิต
    คิชฌกะ : ตามธรรมดามนุษย์  เป็นสัตว์ที่รังเกียจซากศพที่เน่า                             เปื่อยโดยเฉพาะซากศพพวกเขาเอง  เพราะเหตุที่เขา                         กลัวความตาย ด้วยเขาเกรงว่าเขาจะเป็นเหมือนซากศพ                       นั้น  เขาจึงเอาไปฝังไปเผาเสียหมดสิ้น  เราจึงไม่มี                               โอกาสได้เหยียบบริเวณบ้านเขาอยู่แล้ว  เมื่อเราละไป                          เหยียบเข้า  เขาก็ถือว่าเราจะไปกินซากศพของเขา  เขา                      จึงพากันถือสาในเรื่องนี้  แต่ก็แปลกนะท่าน  เราลงไป                          เหยียบบ้านเรือน สถานที่อยู่  ที่ทำงานของเขาคราวใด                        ก็มักจะเกิดเหตุร้ายเสมอ 
     โยธกา :  เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นเล่า
     คิชฌกะ : เทพเจ้าสังหรณ์ใจเรา  ให้เรามองลงไปในสถานที่น้ันว่า                        มีซากศพอยู่  เราจึงลงไปเกาะ  แต่เมื่อเราลงไปกลับหา                      มีไม่  แต่ในไม่ช้านัก  ณ สถานที่น้ันก็มีซากศพจริงๆ 
     โยธกา :   เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นเล่า
     คิชฌกะ : อาจเกิดจากดวงจิตอันบริสุทธิ์ของเราซึ่งถือศีล ไม่เสพ                       สัตว์ตายที่มีเจ้าของ ๑  ทำให้เรามองเห็นภาพซากศพ                         ตามสุถานที่น้ันล่วงหน้า เพราะเรามองเห็นจริงๆ  จึงได้                         ลงไป แต่เหตุนั้นกลับเกิดขึ้นภายหลัง  เรื่องของเราก็                           คล้ายๆเรื่องของท่าน  เรามีญาณเห็นล่วงหน้าได้ทางตา                       ฉันใด  ท่านก็มีญาณรู้ล่วงหน้าได้ทางจมูกฉันนั้น เมื่อ                           ท่านได้กลิ่นซากศพมาจากอาคารบ้านเรือนใด  ท่านขึ้น                      ไปยังบ้านเรือนน้ันมิได้พบซากศพ แต่ต่อจากนั้นไม่นาน                      ก็มีซากศพบนอาคารสถานที่ที่ท่านขึ้นไปนั้น  ท่านอาจไม่                    ทราบ แต่เราอยู่ในที่สูงจึงทราบ 
    โยธกา :  เมื่อเราเข้าไปบ้านนั้นเสียชีวิตเสมอไปหรือ
    คิชฌกะ : ไม่เสมอไปหรอก  บางทีก็สูญเสียทรัพย์อย่างอื่น  ซึ่งมีจริง ชีวิตของคนในบ้านเรือนนั้น ก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของบ้านน้ัน การเสียทรัพย์กับเสียชีวิตจึงคล้ายๆกัน 
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า  ผู้มีศีลธรรมน้ัน ย่อมมีจิตบริสุทธิ์ ผู้ที่มีจิตบริสุทธิ์ย่อมมีญาณหยั่งรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้  แม้แต่สัตว์ตัวน้อยๆ เพราะฉนั้นมนุษย์ผู้มีศีลมีธรรม จึงมีญาณหยั่งรู้ล่วงหน้าได้จริง 


๐๐๐๐๐๐๐๐

๘.ผมหงอกกับผมดำ


     ครั้งหนึ่งผมดำกับผมหงอกพบกันในถุงขยะ   จึงได้สนทนาธรรมกัน ดังต่อไปนี้
     ผมดำ      :  ผมขาวอย่างท่าน แสดงว่าแก่แล้วใช่ไหม  เสียดายตัว                           เองไหมทีต้องแก่เช่นนี้
     ผมหงอก :  เราไม่เสียดายหรอกที่ต้องแก่  เพราะไม่ว่าสิ่งใดใน                              โลกนี้ เมื่อมีเกิดก็ต้องมีแก่ทุกสิ่งไป  แต่คำว่าแก่ของ                           ท่านน้ัน หมายความว่าแก่อะไรเล่า แก่อายุเพราะเกิด                           มานาน แก่ปัญญาเพราะศึกษามาก หรือ แก่ธรรมะ                               เพราะว่าได้เจริญปัญญามาก 
     ผมดำ     :   อ้อ  แก่นี้ก็มีหลายอย่างด้วยนะ 
     ผมหงอก :  มีมากซิท่าน แก่เหล้า แก่กัญชา แก่กิเลสตัณหา แก่กา                         มารณ์ก็มีนะ 
     ผมดำ     :  แก่อย่างท่าน เรียกว่าแก่อะไรเล่า
     ผมหงอก : แก่อย่างเราเรียกว่า แก่ธรรมะ  เพราะเราอายุก็ยังไม่                              มาก เราจะอธิบายให้ฟัง  คนบางคนอายุแก่แล้ว แต่ผม                        ก็ยังดำสนิทอยู่ คนบางคนอายุน้อย  แต่ผมก็หงอกขาว                        เราก็เป็นเส้นผมหงอกขาวบนศรีษะของคนอายุน้อย                            เราถือว่าตัวเรามีคุณค่ามากกว่าผมดำบนหัวของคน                              อายุมาก 
     ผมดำ    :   เพราะเหตุใด? 
     ผมหงอก :  เพราะเหตุว่า สีขาวหมายถึงความสะอาด ความบริสุทธิ์                        ได้ซักฟอก  ชำระล้างแล้ว  หมดความโง่แล้ว  ฉลาด                            แล้ว มีปัญญาแล้ว  หมดกิเลสตัณหาแล้ว  เป็นผู้                                  บริสุทธิ์แล้ว   ท่านคงเคยสังเกตุมาบ้างว่า  คนมีผมบน                          ศรีษะสีหงอกขาวติดคุกน้อยกว่าคนผมดำ  คนมีผม                              หงอกขาว  มีศีลมีธรรมมากกว่าคนมีผมสีดำ  คนผม                              หงอกขาวมีสติปัญญามากกว่าคนผมดำ คนผมขาวมี                            เมตตามากกว่าคนผมดำ  อันนี้ว่าโดยเฉลี่ย แม้คนหนุ่ม                        ที่มีผมหงอก ก็มีสติปัญญาสูงกว่าคนหนุ่มผมดำ ถ้า                              ท่านไม่เคยสังเกตุก็จงสังเกตุเสียตั้งแต่บัดนี้  
     ผมดำ :       เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นน้ัน 
     ผมหงอก :  พืชงอกงามดีบนดินดีฉันใด  ผมหงอกก็งอกจากหัว                               ของคนดีที่มีมันสมองดี มีศีลธรรมดีฉันนั้น
     ผมดำ  :      เหตุใดคนเด็ก และหนุ่มสาวจึงมีผมดำเล่า มิ                                        หมายความว่าคนพวกนี้สมองไม่ดี ศีลธรรมไม่ดีดอก                            หรือ 
     ผมหงอก :  ก็เป็นเช่นน้ัน เพราะเด็กและหนุ่มสาวจะมีดีมีศีลธรรมดี                        เพียงใด ก็ดีเท่าคนที่มีอายุสูงขึ้นมาแล้วไม่ได้  เหมือน                        ผลไม้รสจะหวานจัด มิได้หวานเมื่อตอนดิบ หรือห่าม                            ย่อมหวานเมื่อตอนสุกฉันใด  คนเด็กและคนหนุ่มสาวที่                        มีสมองดี มีศีลธรรมดี ก็ดียิ่งขึ้นเมื่อสู่วัยผู้ใหญ่มีผม                              หงอกแล้ว   ปัญญาจะสุขุมยิ่งขึ้น ผมที่หงอกอยู่บน                              ศรีษะเขาจึงเป็นเครื่องหมายแห่งปัญญาและธรรมะ อีก                        ประการหนึ่งผมของเขาจะเริ่มหงอกเมื่อจิตใจเขาเริ่ม                            บริสุทธิ์สะอาดขึ้นแล้ว  กิเลสของเขาได้รับการซักฟอก                        แล้ว  เส้นผมของเขาก็จะเริ่มขาวขึ้นทุกที  อีกประการ                          หนึ่ง เส้นผมที่ขาวเป็นเครื่องยับยั้งใจคนมิให้คิดชั่ว                              และทำชั่วด้วย 
     ผมดำ :      ท่านก็พรรณาผมหงอกมามากแล้ว  แต่เหตุใดเล่า                                คนในสมัยนี้จึงไม่ชอบผมหงอก ผมหงอกอยู่ก็กลับ                             ย้อมดำเสียหมด แสดงว่าโลกนิยมผมดำยิ่งกว่าผม                               หงอก ท่านจะแก้ว่าอย่างไร 
     ผมหงอก :ไม่ต้องแก้อะไร  เพราะความจริงก็มีอยู่ว่าคนทุกวันนี้                             จิตใจยังเต็มไปด้วยกิเลสตัณหามืดมนอยู่ เต็มไปด้วย                           ความลุ่มหลงมัวเมาในกามคุณ  โลภในทรัพย์ ยศ และ                         อิสตรี หรือเพศตรงข้าม จึงต้องหลอกลวตาผู้อื่นว่าตัว                           เองอายุยังไม่มาก 
     ผมดำ :     ท่านพูดอย่างนี้ไม่ถูกนะ ยังมีคนหัวหงอกอยู่ในบ้านใน                         เมืองเราอีกมากเหมือนกัน
     ผมหงอก :ถ้าเห็นคนหัวหงอกขาว  จงยกมือไหว้เถิด  เป็นมงคลเพราะท่านผู้น้ัน ย่อมมีปัญญา มีธรรมะในใจ เป็นที่ไว้ใจได้  อย่างน้อยท่านก็ไม่หลอกเด็ก 

๐๐๐๐๐๐๐๐๐ 

๙.ชาวนาเกลือกับชาวนาข้าว
     
    ครั้งหนึ่งเป็นเวลาหน้าฝน  พระพิรุณเทพบุตรจึงไขท่อธาราให้ฝนตกลงมายังภาคพื้นธรณี  คร้ังนั้นรามสูรชอบเล่นน้ำฝนกับนางเมขลา พระพิรุณจึงสั่งว่า  ท่านเล่นน้ำฝนท่องเที่ยวไปทุกแห่ง  จงได้สดับตรับฟังเสียงมนุษย์ดูด้วยว่า   จะมีความพอใจประการใด  รามสูรจึงเล่นฝนพลางฟังไปพลางจนทั่วทุกแห่ง   แล้วกลับไปทูลพระพิรุณเทพบุตรว่า  ฟังดูเสียงมนุษย์ทั่วไปดูก็พอใจอยู่เพราะเขาต้องการน้ำฝน  จะมีอยู่ก็ตำหนิว่าตกมากไปบ้าง ตกน้อยไปบ้าง คนเดินทางไม่ค่อยพอใจ เพราะเขาเดินทางไม่ได้ แต่จำพวกคนขี้เกียจแล้วเขาชอบใจมาก  เพราะเขาได้นอนกันสบาย  รวมทั้งชายหนุ่มและหญิงสาวที่แรกแต่งงานกันด้วย  เขาพอใจจะให้ฝนตกท้ังกลางคืนกลางวัน  เพราะเขาจะได้นอนด้วยกันอย่างมีความสุข 
     แต่ยังมีชาวนาอยู่  ๒ จำพวก  มีความเห็นอย่างตรงข้ามทีเดียว   คือพวกหนึ่งดีใจมากที่ฝนตก  ถ้าฝนทิ้งไปนานๆ เขาก็บ่นไปต่างๆ ถ้าฝนแล้งเขาก็ถึงแก่บนบานศาลกล่าวแห่นางแมว  เอาพระมาสวดมนต์กลางทุ่งขอให้ฝนตกบ้าง  แต่ชาวนาอีกพวกหนึ่ง เสียใจมากเมื่อฝนตก   ถ้าฝนตกบ่อยๆเขาจะบ่นว่าต่างๆ ถ้าฝนพรำ  นานไปเขาจะบนบานให้ฝนแล้ง  ชาวนาพวกนี้มีความต้องการตรงกันข้าม คือ ชาวนาข้าวต้องการให้ฝนตก แต่ชาวนาเกลือต้องการให้ฝนแล้ง  ทั้งๆที่ชาวนาเกลือก็รองน้ำฝนใส่ตุ่มไว้กินเมื่อฝนตก 
     พระพิรุณได้ฟังก็หัวเราะ  แล้วตอบว่า  ขอบใจท่านที่บอกให้เราทราบ  แต่เราก็มีหน้าที่อำนวยความสุขส่วนใหญ่ให้แก่โลกมนุษย์รวมทั้งสัตว์และพืชด้วย  เราจึงต้องทำหน้าที่ต่อไป เพราะถ้าเราไม่ทำหน้าที่ไม่ทำฝนให้ตกแล้ว  ทั้งมนุษย์สัตว์และพืช  ก็จะพากันล้มตายหมดสิ้น  ส่วนมนุษย์บางจำพวกที่ไม่ต้องการฝนนั้น เราปฎิบัตตามไม่ได้หรอก  เราทราบดีว่า มนุษย์พวกนี้ขี้เหม็น  ย่อมเคื่ยวเข็ญเทวดา ฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า  เป็นธรรมดาของเขาเช่นนั้นเอง  และมนุษย์จำพวกนี้  ย่อมหาความสุขความเจริญไม่ได้ เขาย่อมเป็นมนุษย์ที่ยากจนและอดอยาก กว่าคนอื่น 
     นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า  แม้เทวดาที่มีเมตตา ก็เอาใจมนุษย์ไม่ได้หมดทุกคน  ทุกหมู่ ทุกคณะ  นับประสาอะไรเล่า ผู้ปกครองคนจะทำความพอใจให้แก่คนในปกครองได้ทุกคน ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้อยู่เอง  
๐๐๐๐๐๐๐๐

         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น